สะพาน

 วันนี้เฒ่าพเนจร จะเล่าเรื่องสะพาน สะพาน คลิก มาแต่เดิมแล้ว เมื่อสมัยโบราณ บางส่งนเกิดโดยธรรมชาติ ใช้ข้ามเหว ข้ามแม่น้ำ หรือ ข้ามทะเล เช่น ช่องแคบแบริงเมื่อก่อนยังมีพื้นแผ่นดินเชื่อมกัน ระหว่างเอเชีย กับ ทวีปอเมริกาเหนือ ในยุคน้ำแข็ง ทำให้มนุษย์ยุคก่อน สามารถอพยพไปในทวีปอเมริกาเหนือได้ สะพานธรรมชาติ ตัวอย่างสะพานภูเขาไท่ ใน มณฑลชานตง คลิก ของประเทศจีน คาดว่าเกิดมาแต่ก่อน ยุคน้ำแข็ง คลิก
Description: 2912120112_6a8fd5cc46_b.jpg
สะพานหินธรรมชาติ มลฑลชานตง
Description: immortal bridge 3.jpg
สะพานธรรมชาติ มลฑลชานตง
Description: MR0137.jpg
และสะพานโค้งในยูทาร์ คลิก สหรัฐอเมริกา เป็นสะพานโค้งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดใน Bryce Canyon คลิก
Description: 2077573645_da3ad1ba97.jpg
The Old Bridge of Konitsa สะพานที่มนุษย์ อายุเก่าแก่หลายศตวรรษ ข้ามแม่น้ำ Aoos ซึ่งจะมีน้ำเต็มในช่วงฤดูหนาว บริเวณด้านล่างของสะพาน จะมีระฆังเล็กๆ แขวนอยู่ ถ้าลมแรง พอที่จะทำให้เกิดเสียงระฆังได้ ถือว่าเป็นอันตราย ไม่อนุญาตให้ข้ามสะพานมีนักท่องเที่ยวเข้าชมมากกว่า 247,000 คนต่อปี อยู่ในประเทศกรีซ
สะพานที่มนุษย์สร้างจากหย็า ประมาณศตวรรษที่ 15 ชาวอินคา ซึ่งอาศัยอยู่ ขณะนี้เรียกว่า ตอนใต้ของประเทศเปรู สร้างสะพาน จากหญ้าจากหญ้าท้องถิ่น ที่มีชื่อว่า Qoya และต้องสร้างใหม่ทุกปี เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งาน โดยเริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 2 เดือนมิถุนายน ของทุกปี ย้อนให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้า ของอาณาจักรอินคาโบราณ ก่อนล่มสลาย คงใช้สะพานหญ้าเหล่านี้ เชื่อมกันระหว่าง โตรกเหว ยาวโดยตลอดอาณาจักร แต่ปัจจุยัน เหลือเพีงแห่งเดียว มีความยาว 36 เมตร พาดอยู่เหนือแม่น้ำ Apurimac อยู่ทางตอนใต้ประเทศเปรู
Description: 1.jpg
วิธีการก่อสร้าง ดดยใช้หญ้า Qoya ที่ถูกน้ำมาผ่านกระบวนการเพื่อนำมาก่อสร้างสะพาน
Description: 2.jpg
โดยฝ่ายหญิงจะรับหน้าที่นำหญ้าเส้นเล็ก มาถักต่อกันเป็นเส้นใหญ่
Description: 3.jpg
เมื่อเชือกเส้นใหญ่มีจำนวน 6 เส้น จะถูกนำมาเป็นโครงสร้างหลักของสะพาน
Description: 9.jpg
แล้วช่วยกันลำเลียงเชือกเส้นใหญ่ข้ามไปอีกฟากหนึ่ง
Description: 4.jpg
เมื่อนำเชือกข้ามไปอีกฟากหนึ่งได้ ทุกคนจะช่วยกันดึงเชือกให้ตึง โดยเชือก 4 เส้นใหญ่ใช้เป็นพื้นทางเดินสพาน และ ราวสะพานอีกข้างละ 1 เส้น
Description: 5.jpg
จากนั้น จะใช้เชือกเส้นเล็ก ถักทอเส้นเชือกทั้งหมด เข้าด้วยกัน เพื่อให้แข็งแรง
Description: 6.jpg
กำลังมัดเชือกเส้นเล็ก กับ เชือกเส้นใหญ่ เข้าด้วยกัน
Description: 10.jpg
 
Description: 7.jpg
รูปร่างสะพานเมื่อใกล้สำเร็จ
Description: 13.jpg
 
Description: 11.jpg
 
Description: 12.jpg
เสร็งแล้ว พร้อมใช้งาน ด้วยน้ำมือมนุษย์ โดยปราศจาก เครื่องทุ่นแรง
 
 
แต่เด็กๆ ในอเมริกาใต้ ประเทศโคลัมเบีย อายุประมาณ 9 - 10 ขวบ อยู่ทางตอนเหนือของกรุงโบโกตา คลิก ประเทศโคลัมเบีย ประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้วิธี ข้ามโตรกเฟวโดยลวดสลิง นับเป็นความกล้าหาญอย่างยิ่ง และการไม่ย่อท้อ ต่อการไปโรงเรียน เหมือนเด็กบางประเทศ โปรดดูภาพ
 
ดูพี่สาวช่างตั้งใจ ไปโรงเรียน เสียเหลือเกินในกระสอบ นำน้องผู้หญิง ชั้นอนุบาลไปด้วย เห็นภาพแล้ว ซาบซึ้ง ในความรัก ความผูกพันธ์ ของพี่สาวกับน้องสาว
 
เชื่อว่า หลายท่าน ยังไม่กล้านั่งรถไฟเหาะตีลังกาเลย น่าชื่นชมหนู เหล่านั้น เฒ่าพเนจร หรือมิตรรักนักอ่าน ดูภาพนี้แล้ว ต้องเห้ฯใจความมุมานะ ของนักเรียนโคลัมเบีย น่าที่จะเผยแพร่ ให้นักเรียน บางกลุ่มในประเทศ สารขันดูบ้าง
ส่วนในประเทศจีน การเดินทางไปโรงเรียนแบบเสี่ยงตาย ของนักเรียนจากหมู่บ้านหงเต๋อ เขตฉุยเฉิง มณฑลกุยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ที่ต้องนั่งยอกๆเบียดกัน 2 - 3 คนในกระเช้าลูกกรงเหล็กขนากเล็กที่สูงแค่เอวและมีเพียงรอกเหล็กยึดติดกับสะลิงเส้นเล็กใช้เป็นพาหนะข้ามหุบเขาซึ่งมีความกว้างถึง 80 เมตร และสูงกว่า 140 เมตร โดยอาซัยแรงชาวบ้านช่วยกันชักรอก ชาวบ้านระบุว่าเป็ฯเส้นทางที่สะดวกที่สุดแล้ว หากไม่ไปทางนี้เด็กจะต้องเดินเลาะหุบเขาและเลียบหน้าผาใช้เวลาราว 1  ชั่วโมงกว่าจะถึงโรงเรียน
ดูคล้ายยังกะยืนเกาะท้ายรถสองแถวในซอยบ้านเราแนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
นี้ถ้าเป็นเฒ่าพเนจร อาจไม่มีความพยายามไปโรงเรียน เหมืนเด็กโคลัมเบีย และเด็กจีนแน่นอน เพราะเฒ่าพเนจรและเหล่าเพื่อนพ้อง เป็นโรคกลัวความสูง ต้องไม่ยอมไปโรงเรียนแหงๆ ขนาดเดินตามคันนา ยังแกล้งลื่นล้ม และไม่ไปโรงเรียนเลย
แต่ยังมีสะพานแปลกๆ อีก อยู่ที่กลางป่าดงดิน ในประเทศอินเดีย มีสะพานไม้ที่แปลกประหลาด คลิก ไม่เหมือนใครในโลก และสามารถเจริญเติบโตได้อีกด้วย มันเป้ฯเถาและราก ของต้นไม้ ที่เกี่ยวพันกัน ออกไปในแนวราบ พาดผ่าน ข้ามลำน้ก จนเป็นสะพาน เนื่องจากต้นไม้ ยังมีชีวิต ยิ่งนานวันก็ยิ่งแข็งแรงขึ้น สะพานเหล่านี้เกิดจาก ชาวพื้นเมือง ใช้ไม้ซุง พาดผ่านลำน้ำ เพื่อเป็นที่ยืดเกาะให้รากของด้นยาง(FicusElastica)คลิก พาดผ่านลำน้ำไปตามที่ต้องการ อาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็คงทนถาวร
รับน้ำหนักได้มากกว่า 1 ตัน
แต่ยังมีวิธีข้ามน้ำ ที่แปลกกว่า ที่อื่นๆอีก คือประเทศเจ้าพ่อ ของน้ำ ไม่มีใครเกินเนเธอร์แลนด์ นอกจากจะถมทะเล ทำเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ทำเป็นที่อยู่อาศัย ยังทำสะพานหรือท่อแยกน้ำ ไว้เดินเล่นอีก สะพานไอเดียแปลก แหวกทะลุน้ำ ไ่ต้องข้ามให้ซ้ำกับประเทศไหน เนเธอร์แลนด์เนรมิต ป้อมปราการเก่า ที่เคยป้องกันการรุกราน ของฝรั่งเศษและสเปน ในศตวรรษที่ 17 ให้เป็นสะพานแยกน้ำ
 
เฒ่าพเนจร ได้แสดงแบบสะพานต่างๆ แม้เป็นส่วนน้อยที่ปรากฎ อยู่บนโลกนี้ แต่ก็เป็นเครื่องหมาย ของมนุษย์ ที่พยายามเอาชนะธรรมชาติหาทางข้ามน้ำ ข้ามหุบเหว ให้สะดวกกว่าที่ธรรมชาติกำหนด มันเป็นพลังของจิตใจ ที่ไม่ยอมแพ้ และบางครั้ง มันแสดงให้เห็นถึง อารยะธรรม และแนวคิด อย่างเช่น สะพานที่ทำด้วยหญ้าเส้นเล็กๆ ของชนเผ่าอินคา ที่อาศัยอยู่บนบริเวณเทือกเขาแอนดีส ซึ่งไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย หรือ การพยายามข้ามโตรกเหว ด้วยลวดสลิง ล้วนเป็นความคิดก้าวหน้า ความพยายามของมนุษย์ น่าเอาเป็นแบบอย่าง ในการแก้ปัญหาของชีวิต โดยไม่ย่อท้อ กำหนดโชคชะตาด้วยตนเอง
กลับมาดูสะพานไม่ไผ่ ในสมัยบ้านทุ่ง ช่วงกลางสะพานจะเป็นไม้ไผ่ท่อนเดียว พอพลบค่ำ ก็จะชักไม้ไผ่ส่วนที่อยู่ตอนกลาง ของสะพานออก เพื่อกันคนภายนอก ข้ามสะพานตอนยามวิกาล หรือเพื่อความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ครั้นรุ่เช้า ก็ทอดสะพานเชื่อมกันใหม่ จนเป็นศัพท์แสลง ว่า ผู้หญิงทอดสะพาน คลิก แปลว่า แสดงกิริยาท่าทางว่าอยากติดต่อด้วย
ช่วงไม้ไผ่กลางสะพานชักออกได้ เวลากลางคืน
ช่วงไม่ไผ่กลางสะพานชักออกได้ เวลากลางคืน
ถ้าไม่เชื่อ ลองฟังเพลง ทอดสะพาน วิดิโอเพลงทอดสะพาน
 
เมื่อเฒ่าพเนจร ต้องมีส่วนร่วม ในการสร้างตลาดน้ำขวัญเรียม ซี่งมีวัดบำเพ็ญเหนือ อยู่ตรงข้ามวัดบำเพ็งใต้ สองวัดนี้ประวัติอันยาวนาน มีคลองแสนแสบ คั่นระหว่างกลาง ถูกขุด โดยชาวลาวจากเวียงจันทน์ คลิก ที่เข้ามาในผืนแผืนดินแห้งนี้ สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวลาวเวียงจันทน์นั้นได้มาจกตำบลบางเพ็ง เมืองเวียงจันทน์ ในเวลสนั้น (เฒ่าพเนจรขอเล่ารายละเอียด เรื่องนี้นตอนขุดคลองแสนแสบ) มีปัญหาอยู่ที่ว่า จะสร้างสะพานข้าม เชื่อมแผ่นดินธรรมสองวัด เพิ่มจากสะพานซึ่งเคยมีอยู่เดิม ให้เป็ฯรูปแบบลักษณะใด ที่จะแสงดเอกลักษณ์ คติธรรม และแฝงไว้ด้วยศิลปะ โธ่ พระเจ้าจ๊อด เฒ่าพเนจรมีความรู้แค่หางอึ่ง ส่วนสถาปนิกประจำเพียงนา คือทิดบอน ก็เคยแต่ออกแบบมุงหลังคาจากบ้านทรงไทย พื้นไม่ไผ่ขัดแตะ ออกแบบสะพานก็เคย แต่เป็ฯสะพานไม้ไผ่ ซักออกตอนกลางคืน วางพาดอย่างเดิมตอนกลางวัน และนอกจากนั้น พฟติกรรมของทิดบอน ชอบแต่ดูสารคดี อ่านแต่หนังสือ ก็เท่านั้น ในเย็นวันหนึ่ง ฝนตกพรำๆ มีเพียงเฒ่าพเนจรและทิดยอน สถาปนิก คลิก คุยกันถึงเรืองแบบสะพาน จะทำแบบไหน ถึงจะเหมาะสม ทิดบอน เห็นว่า เราเป็นชาวพุทธ ชาวบ้านทุ่ง ถ้าจะสร้างสะพาน เชื่อระหว่าง แผ่นดินธรรมทั้งสอง เข้าด้วยกัน มันน่าที่จะเป็นภาพคติธรรม อย่างภาพในโรงมหรสพทางวิญญาณ ของท่านพุทธทาสภิกขุแม้จะอาจเอื้อมไปสักหน่อย เฒ่าพเนจร เร่งตะเกียงน้ำมันก๊าด ให้สว่างขึ้น เห็นหน้าทิดบอนถนัดแวตาทิดบอนเป็นประกาย ผีก็ไม่น่าเข้านี่นา นานมาแล้วไม่เคยเห็นแววตาทิดบอนสดใสอย่างนี้ หรือ ทิดบอนกลับมาเป็นคนเดิมแล้ว หลังจาก หลงรัก น้องน้ำหวาน ลูกสาวทิดวัน แต่น้อน้ำหวาน กลับไปแต่งงานกับพี่แฉ่ง เศรษฐีเมืองมีน ทิดบอนคงทำใจได้แล้ว ความเป็น ตี๊ด กลับมาแล้ว นัดคุยกับเฒ่าพเนจรใหม่ วันพระหน้า
ครั้งหลังที่ได้พบทิดบอน ทิดบอนล้วงกระดาษอยู่ยี่มาให้ดู 2 แผ่นแล้วอธิบายให้เฒ่าพเนจร อีกยืดยาว แสดงถึงความเป็น ตี๊ด ฟังดูแล้ว ไม่เข้าใจ แต่ก็แสร้งว่ารู้เรื่อง เอาก็เอา
ลองมาดูภาพการก่อสร้าง
เป็นคอนกรีตเสริมด้วยเหล็กไอบีม ขนาด 47 นิ้ว เป็นคานกลาง
เสร็จจากโครงสร้างเหล็ก ทิดบอนให้เอาไม้แดงปะ ให้ดูเป็นสะพานไม้ เหมือนทีแกเคยออกแบบ สะพานไม้ไผ่ แกคงคิดว่าพวกเรารวย อะไรประมาณนั้น
ไม้แดงราคาเท่าไหร่ ทิดบอนไม่รู้
กงเรือ เป็นเหล็กเหลี่ยม อัดด้วยแท่นไฮโดรลิคให้โค้งสวยงาม ตามที่ทิดบอนคิด
กงเหล็กเสร็จแล้ว ต้องเรียงลำดับไหล่ด้วย ทิดบอนบอก
ทุกอย่าง เริ่มคืบหน้า
เริ่มเอาไม้แดง มาปะเหล็ก เรื่องเงินไม่ต้องพูดถึง
เห็นกันชัดๆ เงินทั้งน้านนนนนนนนนน
สำเร็จเสร็จสิ้น แทบสิ้นใจ สะพานเหล็ก แต่ทำให้ดูเหมือนไม้ ไม่จำนองนา ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้วหละ ครั้นพอสร้างสะพานเสร็จ ทิดบอนก็มาหา ที่ไซด์งาน ควักกระดาษยู่ยี่ จากกระเป๋าเช่นเดิม ในนั้นมีใจความว่า
"ศิลปินผุ้ รังสนนค์สะพานนี้ มิได้เจตนา สร้างให้เสร็จ ประสงค์ให้ ผู้มีบารมี เดินข้ามเก้าครั้ง เก้าเพลา เพื่อแต่งเติมจินตนาการ ก่อสร้างเอง จนแล้วเสร็จ สำหรับข้ามห้วง มหรรณพ ฟันฝ่า อุปสรรค ทั้งหลาย ทั้งปวง ในชีวิต สู่ สะอาด  สว่าง สงบ มั่งคั่ง พลานามัย สมบูรณ์ เทอญ."
แล้วพูดต่อไปว่า ในชีวิตรู้สึก ปิติ ที่มองสิ่งดีๆ ให้คนอื่น เขาเห็นให้เขาคิดเอง