ประวัติคลองแสนแสบ

             

 

ประวัติเรื่องราว : ประวัติคลองแสนแสบ

 

ประวัติคลองแสนแสบ

 

มันเป็นการยาก ที่จะเขียนประวัติคลองแสนแสบ เพราะอย่างน้อยชาวเรื่องผู้เฒ่านี้ ยังไม่เกิด และผู้ที่ขุด ก็ล้วนแล้วแต่เสียชีวิต ไปแล้วทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดเคยเห็นวัสดุ และอุปกรณ์ในการขุด ที่พิพิธภัณฑ์หรือแหล่งอื่น ๆ แต่อย่างใด เป็นแต่เพียงทราบประวัติ เหมือนที่ท่านทั้งหลายก็พอทราบอยู่บ้างแล้ว

    

   ทว่าชาวชนบทผู้ต่ำต้อย เคยท่อไปทั่ว 7 คาบสมุทร ได้เห็นสิ่งก่อสร้างโดยน้ำมือมนุษย์  อาทิ เช่น มหาพีระมิด(Click) ในประเทศอียิปต์กำแพงเมืองจีน (Click)   นครวัด (Click) นักวิชากาลสมัยปัจจะบันสันนิฐานว่า นครธม (Click) ในกัมพูชา

 

 

 

                                                         

                                    มหาพีระมิด (Click)                                      กำแพงเมืองจีน (Click)                                   นครวัด - นครธม (Click)

คลองส่งน้ำของโรมัน เขตโปรวองซ์ ที่อยู่ตอนใต้ของฝรั่งเศส หรือแม้แต่โรงอาบน้ำของโรมัน (Click) ที่อยู่เมืองบาธ ใกล้กรุงลอนดอน กรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองร๊อตเตอร์ดัมส์ ในเนฌธอร์แลนด์ โคลอสเซียม (Click)

                                                         

                            โรงอาบน้ำของโรมัน (Click)                                    โคลอสเซี่ยม (Click)                                       สปาตาคัส (Click)

แรงงานที่ก่อสร้างโคลอสเซียมส่วนใหญ่เป็นทาสเชลยที่โรม ไปตีได้ที่ กรุงเยรูซาเร็ม ทาสยิวค่อนข้างถูกทารุณอย่างมาก ในสมัยโรมัน นักสู้ที่ต้องต่อสู้ กันถึงตายเช่นภายพนตร์เรื่อง สปาตาคัส (Click) ซึ่งสามารถจุผู้ชมได้เป็นหมื่น เพื่อชมการต่อสู้รหว่างคนกับสัตว์ และระหว่างคนกับคนอันไม่เคยมีเหตุโกรธเคื่องกันแต่อย่างใด มีแต่ผู้ชนะเท่านั้น ที่จะได้เดินออกจากสังเวียน ส่วนผู้แพ้ต้องตายอย่างเดียว

 หรือแม้แต่ สวนลอยบาบิโลน (Click) ในประเทศอิรัก ทัชมาฮาล (Click) เครื่องหมายความรัก ระหว่างผู้ชายคนหนึ่งกับภรรยาประเทศอินเดีย ล้วนแล้วแต่เป็นคำถามคาใจ แรงงานเหล่านั้นถูกบังคับหรือถูกว่าจ้างหรือไม่

                                                         

                            สวนลอยบาบิโลน (Click)                                      ทัชมาฮาล (Click)                                                   เปเล่ (Click)

ชาวเรือผู้ชรา ท่องไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองลิเวอร์พูล ของอังกฤษ มีชาวแอฟริกันอยู่มากมาย ภาคใต้ของสหรัฐด้านติดมหาสมุรแอตแลนติก ก็เต็มไปด้วย คนสัญชาติอเมริกันผิวดำมากมายเหลือเกิน นี่ยังไม่นับรวมถึงประเทศในหมู่เกาะแครีเบียนทั้งหมด หรือแม้แต่ ประเทศบราซิลอันกว้างใหญ่ แต่ใช้ภาษาโปรติกีสเป็นภาษาหลัก

    ซึ่งโปรตุเกสเป็นประเทศที่มีประชาชนอยู่ไม่กี่ล้านและพื้นที่ไม่ใหญ่โตนัก พลเมืองส่วนใหญ่ของบราซิลผิวคล้ำ ผมหยิก ซึ่งความจริงชาวเรือผู้เฒ่าชื่นชอบ (มักขนาด ในฝีเท้าของ เปเล่ (Click) โรนัลดินโย่ กาก้า พ่อรูปหล่อ หรือปีกรุ่น เปเล่ การ์รินซ่า แจซินโฮ) คนผิวสี อัฟริกัน มาทำอะไรกันในประเทศเหล่านั้น

        ทั้งที่ไม่มีดินแดนเชื่อมต่อกัน กับทวีปแอฟริกาเลยสักนิด หรือบรรพบุรุษบางส่วนของพวกเขา ถูกชาวยุโรปนำมาเป็น ทาส (Click) เพื่อใช้แรงงาน โดยเปลี่ยนจากคนเป็นสิ่งของหรือสินทรัพย์ที่จะซื้อขายต่อกันได้ ไม่แต่เฉพาะผิวดำเท่านั้น ผิวเหลือง ผิวขาวทั้งหมดด้วย หากเป็นอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Roots(Click)

                                                                                       

                                                       ทาส (Click)                                                                                    Roots (Click)

และหาก บรรพบุรุษขงคนผิวดำ ต้องรอนแรมจากทวีปแอฟริกัน มายังทวีปยุรป ทวีปอเมริกาเหนือ ท่านเหล่านั้นมีทางเดียวคือ เดินทางด้วยเรือสำเภา บรรทุกสินค้า ขับเคลื่อนด้วยแรงลม เป็นเวลากี่วัน กี่เดีอน ที่ต้องลอยล่องเมาคลื่นอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งเต็มไปด้วยเคลื่อนอันแรงกล้า แออัอ อดอิ่ม เสียชีวิตหรือบาดเจ็บระหว่างทาง

     ผู้อ่านทั้งหลาย โปรดได้หาข้อมูลเอาเองเถิด เศร้าสุดบรรยาย ส่วนชาวเรือเฒ่า เคยเดินทางย้อนรอยตามท่านเหล่านั้น เรียกกันว่า เก็บทุกรายละเอียด เหน็ดเหนื่อยสาหัสโดยเรือ บิน โบอิ้ง ข้ามเส้นเขตวัน (เส้นแวง) ที่กำหนดเปลี่ยนเวลาจนเป็นโรค Jet Lag (Click) นั่งเครื่องบินนาน ๆ เกิน20 ชั่วโมง ท่านทั้งหลายคงเคยเป็นโรคนี้ เหมือนชาวชนบทผู้ต่ำต้อยนี้แหละ

 เล่าแล้ว อดน้ำตาซึม ถึงการกระทำของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน ที่เหยียดเชื้อชาติ กดขี่ข่มเหง คนที่แพ้สงคราม คนที่ฉลาดน้อยกว่าตนเอง

     ย้อนเดินเรือกลับมาในดินแดน สุวรรณภูมิของเราสักที ก็มีสภาพแนวคิดการกระทำ เหมือน ๆ กับในอดีตของมนุษย์ที่อยู่ในทวีปอื่น ๆ ไทยรบพม่า พม่ารบไทย ไทยรบลาว ลาวรบไทย ไทยรบมลายู มลายูรบไทย ไทยรบเวียดนาม เวียดนามรบไทย ผลของสงคราม ผู้ชนะเซียนประวัติศาสตร์ ผู้แพ้โดยเผาบ้านเผาเมือง ริบทรัพย์ จับทาสเชลย (Click) ยกตัวอย่าง เช่น สงครามไทยครั้งที่ 4 สมัยพระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. 1893 ขอมแปรพักตร์ ชนะเขมร ได้จำนวนทรัพย์สินมีค่าเมืองพระนคร ไทยขน เทวรูปสัมฤทธิ์ (Click) สิงห์ ช้างเอราวัณขนาดใหญ่ ตอนกลับพม่าก็เอาคืนเทวรูปเขมรก็ถูกขนต่อไปพม่า เทวรูปสัมฤทธิ์เขมรชุดนี้ ตอนนี้ใครไปถึงวัดมหามุณี เมืองมัณฑะเลย์ ของพม่า ก็ยังเห็น

 ท่านผู้อ่านที่เคารพ อย่างเพิ่งถาม ว่ามันเกี่ยววกับประวัติคลองแสนแสบอย่างไร นี่เป็นแค่เบื้องแรก ที่จะปูพื้น ให้มิตรรักนักอ่าน ได้จินตนาการไปให้ถึง วัฒนธรรมและประเพณี ของการรบ ในสมัยโบราณ ซึ่งประวัติสาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ Steve job, Bill gate ยังไม่เกิด ทำให้การสืบหาข้อมูลเป็นไปอย่างยากลำมาก

           ชาวเรือผู้อับปัญญา จึงขอเป็นสะพานน้อย เชื่อต่อเรื่องราวให้ท่านผู้อ่านพิจารณาต่อไป ค้นหารายละเอียดต่อไป ถึงประวัติศาสตร์อันขมขื่นเพื่อมิให้การกดขี่เกิดขึ้นอีก ในอนาคต หวังว่ามิตรรักนักอ่าน ได้ยินเพลง IMAGINE ของ John Lennon และ เพลงบรรเลงแสงดาวแห่งศรัทธาของ จิตร ภูมศักดิ์ ขอได้โปรด จิตนาการต่อไป

               เพื่อให้โลกนี้ หยุดการกดขี่ การข่มเหง สู่การเสมอภาค ขออภัยมิตรรักนักอ่านมา ณ ที่นี้ด้วย เอ้ากลับไปเรื่องเก่า

                                                                            

    และเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 พม่าเผากรุงศรีอยุธยา ริบทรัพย์ กวาดต้อน ชาวกรุงศรียุธยา และชาวสยามในสมัยนั้น ได้ถูกพม่ากวาดต้นเป็นเชลย เพื่ไปใช้เป็นแรงงาน ต้องทนทุกข์ยากขนาดไหน ตกระกำลำบากอย่างไร ไม่ค่อยจะมีชาวไทยปัจจุบันสืบค้น บรรพบุรุษผู้สูญหายของเราเหล่านั้น

    เนื่องจากชาวเรือผู้ต่ำต้อย เคยไปเยือนพม่า ประมาณ 8 ครั้ง ด้วยคิดถึงบรรพบุรุษของพวกเรา ที่ถูกกวาดต้อนไป จึงขอน้ำเสนอบางสิ่งบางตอน ด้วยความอนุเคราะห์ของ Wikipedia และหนังสือ  พม่าอ่านไทย  ของ ดร.สุเนตร ชุติธรานนท์ (Click) และจาก พงศาวดารอีกหลายฉบับ คิดแล้ว น้ำตาซึม จนรู้สึกขมในลำคอ

    แต่ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ เพราะในสมัยนั้น ถือเป็นทำเนียมปฏิบัติ ของผู้ชนะสงคราม และกวาดต้อน ผู้คนและทรัพย์สินของผู้แพ้ ไปยังบ้านเมืองแห่งตน และทำลายบ้านเมืองของผู้แพ้อย่างย่อยยับ

   เพื่อมิให้เป็นเสี้ยนหนาม แก่ฝ่ายตนเงในอนาคต อย่างต่ำก็สองชั่วชีวิตคน พม่าชนะไทยครั้งนั้น ยังกวาดต้อนผู้คนตามทางที่ผ่าน ทั้งบ้านเมืองอื่นที่ยึดได้ อันมีระแหงโป๊ะโดงจอ สุโขทัย สวรรคโลก และเมืองพิษณุโลก ก็ให้กวาดเอาไพร่บ้าน พลเมืองเป็นอันมากกลับมาสู่อาณาจักรพม่า ส่วนทางเดินทัพเส้นเชียงใหม่ ก็ใหกวาดต้อนเอาผู้คนเป็นอันมาก มียวน เชียงใหม่ และลาว ติดตามทับกลับมาด้วย ใช้เวลาทั้งหมด 11เดือน ของการเดินทาง ถึงกรุงอังวะ

    บางส่วนหนีรอดไปได้ บางส่วนตายระหว่างทาง ด้วยไข้ป่า และทนทุกข์รมานไม่ไหว เนื่องจากหนทางทุรกันดาร ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพรโดยเดินด้วยเท้าบ้าง เรือเล็ก ๆ บ้าง

                                                                      

     เรื่องราวของกลุ่มเชลยชาวกรุงศรีอยุธยา และได้ข้อยุติว่าพวกเชลยเหล่านี้ ใช้ชีวิตในพม่า หลังจากที่ตกเป็นเชลย ผู้ต้องชดใช้หนี้สงครามในพม่าตลอดชีวิต จนพวกเขาสูญหายไปจากความทรงจำของเพื่อคนไทย และบ้านเกิดเมืองนอนโดยสิ้นเชิง

     ชะตากรรมและบทบาทของกลุ่มคนไทยในพม่า เป็นอย่างไรบ้างนั้น ดร.ทันทุน (Tan Tun) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่า สมัยปัจจะบัน ที่รู้จักกันดีในระดับสากล ดร.ทันทุน ได้รวบรวมและทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ แปลออกเป็นภาษาอังกฤษเสนอยัง Center for Southeast Asian Studies มหาวิทยลัยเกียวโต (ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ พม่าอ่านไทย โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์)

         บทความเรื่อง "Ayutia Men in the Service of Burmese Kings, th 16th & 17th Century" ของ ดร.ทันทุน จึงมีความแปลกและได้เรื่องราวน่าสนใจยิ่ง และเมื่อนำมากลั่นกรองแล้ว เชื่อว่าผู้คนคงจะได้รับรู้ความคิด และความรู้สึกใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายอพยพของชาวกรุงศรีอยุธยาที่พากันเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในพม่า

        และสมัครใจเข้าไปเป็นข้าช่วงใช้สนองเบื้องพระยุคลบาทกษัตริย์พม่าถึงกรุงอังวะหลายต่อหลายระลอกด้วยกัน สิ่งเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนที่เชิญชวนและท้าทายให้พวกเราหันมาศึกษาคติการดำเนินชีวิต ความรู้สึกนึกคิดของชาวกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนปัญหาทางการเมืง สังคมเศรษฐกิจของอยุทธยาในยุคศตวรรษที่ 16-17 อย่างจริงจังต่อไอย่างไม่รู้จบ

         บทความเรื่อง "Ayutia Men in the Service of Burmese King, the 16th & 17th Century" ของ ดร.ทันทุน ได้ลงพิมพ์ในวรสาร "Southest Asian Studies" Vol 2 No.4 March 1984 ซึ่งมีชื่อภาษาไทย และแปลโดย สุพรรณี กาญจนัษฐิติ ว่า "ชาวอยุธยากับการรับราชการในได้เบื้องพระยุคลบาทกษัตริย์พม่า สมัยคิสต์ศตวรรษ ที่ 16 และ 17 เป็นแง่มุมหนึ่งของการศึกษาเรื่องราวของกลุ่มคนไทยในประเทศพม่า

        จากหลักฐานอันเก่าแก่ที่มีอยู่ในประเทศพม่าและได้เรียบเรียงขึ้นตามสายตาและทรรศนะของคนพม่าที่มีต่อคนไทยในช่วงศตวรรษ ดังกล่าวย่อมมีคุณค่าอยู่ในตัวพอที่นักประวัติศาสตร์และผู้สนใจประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจะมองข้ามไปเสียมิได้ (ขอบคุณข้อมูลจาก คุณสุพรรณี กาญจนัษฐิติ click)

 กรุงแตก

         ในวันที่กรุงแตกนั้น เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือนเมษายน ศักราช 1129 (พ.ศ. 2310) เวลาสี่นาฬิกา แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดเนื่องจากพม่าก่อไฟสุมรากกำแพงไว้หลายก่อนหน้านั้นแล้วทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

 ผลที่ตามมา

หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกพม่าได้บุกเข้ามายังตัวพระนครในตอนกลางคืน แล้วจุดไฟเผาบ้านเรือนของชาวบ้าน ตลอดจนปราสาทราชมณเฑียร ทำให้ไฟไหม้ลุกลามแสงเพลิงสว่างดังกลางวัน เมือพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใครมาขัดขวางแล้ว ก็เที่ยวฉกชิงและเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร

 แต่ด้วยเป็นเวลากลางคืน ชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้ประมาณ 30,000 คน พร้อมทั้งเจ้านายทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระภิกษุสามเณรทั้งหลายที่หนีไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ก็แจกจ่ายกันไปคุมไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกอง

 จากนั้นพม่าก็เที่ยวตรวจเก็บบรรดาทรัพย์สมบัติทั้งของหลวง ของราษฎร ตลอดจนเงินทองของเครื่องพุทธบูชาตามวัดต่าง ๆ และยังเอาทรัพย์ซึ่งราษฎร์ฝังซ่อนไว้ตามวัดวาบ้านเรือนต่อไปอีก โดยเอาราษฎรที่จับไว้ได้ไปชำระซักถาม  แล้วล่อลวงให้ส่อกันเอง ใครยอมบอกทรัพย์ของผู้อื่น ก็ให้ปล่อยตัวไป

  ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ถ้าไม่บอกให้พม่า ก็จะถูกเฆี่ยนตี และทำทัณฑกรรมต่าง ๆ เพื่อเร่งเอาทรัพย์จนบ้างก็ถึงกับเสียชีวิต บางที ทหารพม่าก็จะใช้วิธีการทารุณโหดร้าย จับเส้นเท้ามาลนไฟ ทั้งยังนำลูกสาวมาข่มขืนให้ร้องลั่นต่อหน้าบิดามารดาอีกด้วย ทางด้านพระสงฆ์ก็ถูกกล่าวหาว่าซ่อนสมบัติเอาไว้มาก จึงถูกยิงด้วยศร ถูกพุ่งด้วยหลาวหรือปลายหอกจนตัวปรุ หลายรูปถูกตีด้วยท่อนไม้จนมรณภาพคาที่

 บริเวณวัดวาอารมตลอดจนบริเวณที่กว้างล้วนเต็มไปด้วยซากศพ แม่น้ำลำคลองก็เช่นเดียวกัน ศพมีมากและส่งกลิ่นเหม็นจนแทบหายใจไม่ออก เป็นเหตุให้ฝูงแมลงวันต่างพากันมาตอม สร้างความรำคาญแก่กองทัพพม่าเป็นอันมาก

 หลักจากที่กองทัพพม่ายึกกรุงศรีอยุธยาสำเร็จแล้ว จึงพักอยู่ประมาณ 10 วัน พม่าใช้เวลาจุดไฟเผาบ้านเมืองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติเสร็จแล้ว ครั้นขึ้น 9 ค่ำ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310 กองทัพพม่ายกออก จากกรุงศรีอยุธยา โดยนำพระเจ้าอุทุมพร รวมถึงพระราชวงศานุวงศ์อีก 2,000 กว่าองค์ พร้อมชาวกรุงศรีอยุธยา จำนวน 106,100 ครัวเรือน เดินทางมาถึงกรุงรัตนปุรอังวะ ในเดือนเมษายน ศักราช 1130 พ.ศ. 231 รวมระเวลาเดินทางถึงกรุงอังวะ 11 เดือนเศษ โดยกวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า แล้ว แหวนเงินทอง

 เนเมียวสีหบดี ได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพให้มองญาพม่าเป็นปลัดทัพคุมพลพม่าและมอญรวม 3,000 คนตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สิ่งของส่งตามไป แล้วตั้งนายทองอินให้เป็นเจ้าเมืองธนบุรี แล้วแบ่งแยกกองัพออกเป็น 3 กองทัพ กองทัพทางเหนือ มีเนเมียวสีหบดีแม่ทัพคุม เจ้านายและข้าราชการที่เป็นเชลยกับทรัพย์สิ่งของที่ดีมีราคามากมาย ยกกลับไปทางด่านแม่ละเมาะ

 กองทัพทางใต้ให้เจ้าเมืองพุกามเป็นนายทัพคุมพวกเรือบรรทุก บรรดาทรัพย์สิ่งของอันเป็นของใหญ่หนัก ๆ ไปทางเมืองธนบุรีและท่าจีน แม่กลองกองหนึ่ง อีกกองหนึ่งยกเป็นกองทัพบกไปเมืองสุพรรณบุรีไปสมทบกับกองเรือที่เมือง กาญจนบุรีรวมกันยกกลับไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ในครั้งนั้นพม่าได้ปืนใหญ่ 1,200 กระบอก ปืนเล็กหลายหมื่นกระบอก รวมทั้งได้ปืนคู่แผดหล่อด้วยทองสำริด ขนาดยาว 12 ศอก และเรือพระที่นั่งกิ่งอีก 4 ลำด้วย

 สำหรับปืนพระพิรุณแสนห่านั้นมีขนาดใหญ่มาก เมื่อตอนใกล้กรุงจะแตกหมดความหวังที่จะชนะพม่าแล้ว ปืนกระบอกนี้ก็ถูกทิ้งลงในสระแก้วในพระราชวังกรุงเก่า ภายหลังพม่าทราบเรื่องเข้า จึงได้นำขึ้นมาจากสระ แล้วตัวปกันหวุ่นแม่ทัพภาคใต้ขนไปทางเรือ จุดหมายปลายทาง คือ เมืองกาญจนบุรี โดยไปบรรจบกับกองทัพบกที่นั่น

 ครั้นมาถึงตลาดแก้วเมืองนนทบุรี เห็นว่าเป็นใหญ่พระพิรุณแสนห่านี้หนักเหลือกำลังที่จะเอาไปเมืองอังวะได้ ปกันหวุ่นจึงให้ขึ้นชักขึ้นจากเรือที่วัดเขมา ให้เอาดินดำบรรจุเต็มกระบอก จุดเพลิงระเบิดเสีย และขนชิ้นส่วนที่เป็นทองสำริดกลับไปเมืองอังวะ โดยที่ทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากตีกรุงได้แล้วร่วม 2 เดือน

                  

พม่าได้เชลยไทยจำนวน 30,000 คนเศษ พม่าแยกเชลยออกเป็น 2 พวก

* พวกที่ 1 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรกับพระบรมวงศานุวงศ์และชาวเมือง เนเมียวสีสบดีให้กองทัพคุมตัวไปทางเหนือ

* พวกที่ 2 ราษฎรที่เหลือและพวกมิชชันนารี ให้ปกันหวุ่นแม่ทัพทางใต้คุมไปทั้งทางบกและทางเรือ ล่องใต้ไปทางเมืองทวายแล้วไปบรรจบกับพวก แรกที่ทางเหนือของกรุงอังวะ

                                                                     

ส่วนเรื่องเชลยนั้นพม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าแล้วร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวง เพื่อกวดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ ประเทศพม่า นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า "เอ็นร้อยหวาย"ในปัจจุบัน เชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้น ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปองเลได้ (ตึกปองเล) ใกล้คลองชะเวตาชอง หรือคลองทองคำ แถบระแหงโม่ตีส หรือตลาดระแหง ห่างจากเมือมัณทะเลย์ ประมาณ 13 กิโลเมตร มีวัดระไห่ เป็นศนูย์กลางของหมู่บ้าน มีตลาดโยเดีย และมีการรำโยเดียที่มีท่ารำชั้นสูง เช่น พรหมสี่หน้าของไทย ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย

 พระเจ้าอุทุมพรถูกพระเจ้ามังระบังคับให้ลาผนวช แล้วให้ตั้งตำหนักอยู่ที่เมืองจักกาย (สแคง) ตรงหน้าเมืองอังวะ พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการยุธยาก็รวบรวมอยู่ที่นั่นเป็นส่วนมาก พม่าได้ซักถามเรื่งพ.สวดารและแบบแผนราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาจดลงในจดหมายเหตุคือ เอกสารที่ฝ่ายไทยได้ฉบับมาแปลพิมพ์เรียกว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรืคำให้การชาวกรุงเก่า"

 แต่ส่วนพวกราษฎรที่๔ กวาดต้อนไปจำนวนมากนั้น พม่าแจกจ่ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ภายหลังหนีคืนมาบ้านเมืองได้บ้างก็มี แต่ก็สบสูญไปในพม่าเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าอุทุมพรไม่เสร็จกลับมาอยุธยาอีก หลักฐานสุดท้ายของเจ้านายพระองค์นี้ที่เหลืออยู่ก็คือ เจดีย์ที่เมืองจักกายเท่านั้น

 การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการสุญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ทหารพม่าไล่ฆ่าฟันผู้คนตายเป็นอันมาก ทรัพย์สินสมบัติสูญเสียถูกทำลาย ถูกขุดค้นไปทั่วทุกแห่งหน โดยตั้งใจจะไม่ให้อยุธยามีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่ แม้แต่วัดวาอารามอันวิจิตรงดงาม พม่าก็เอาไฟเผาและเอาไฟสุมพระพุทธรูปพระศรีสรรเพ็ชรดาญาณ

 เพื่อให้ทองคำหุ้มองค์ละลาย เก็บเอาทองคำที่หุ้มองค์พระพุทธรูปหนัก 286 ชั่ง (238.33 กิโลกรัม) ไปใช้ประโยชน์ที่เมืองพม่า อีกทั้งได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยและทาสยังเมืองพม่า พม่าไฟเผาบ้านเรือนทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ 15 วัน

 บันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการ์ณปล้นสะดมพระนคร

 แอนโทนี โกยาตัน ชาวอาร์เมเนียน อดีต Head of the foreign Europeans ในสยามและ The Arabian Priest Seyed Al ซึ่งแต่ก่อนได้พำนักอยู่ในกรุงสยามได้เล่าเรื่องราวให้ Shabandar [ชาแบนดาร์] พี แวนเดอร์วูร์ต ฟังดังนี้ :

 "...หลังจากที่คนรับใช้ของบริษัทได้ออกไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2308 ไม่นานนัก พม่าก็เข้าล้อมกรุงสยามในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม พ.ศ. 2309 หลังจากที่ได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ที่อยู่รบ ๆ ได้แล้ว และพม่าได้วางที่ตั้งยิงปืนใหญ่ขนาดเล็กขึ้นโดยรอบกรุงเพื่อมิให้ผู้ใดเข้าหรือออกได้ สภาพเช่นนี้เป็นไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310

 ในเวลาที่น้ำขึ้นท่วมรอบกรุง พม่าได้เคลื่อนที่เข้าไปใกล้กรุง ในเวลากลางคืนด้วยเรือหลายลำ ใช้บันไดพาดกำแพงหลายแห่ง และโยนหม้ดินที่รรจะดินเป็นเข้าไปภายในกำแพงที่ถูกล้อม ครั้นเมื่ยึดกรุงได้แล้ว พวกพม่าได้ช่วยกันทำลายเมืองลงเป็นเถ้าถ่าน หมด การปฎิบัติในครั้งนี้พวกพม่าได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมากจากพวกเพื่อนร่วมชาติขงตนที่อยู่ภายในกรุง

 ซึ่งมีจำนวนประมาณห้าร้อยคน กับพวกพม่าที่ทำการรุกเข้าไปที่สามารถทำการติดต่อกันได้ เรื่องได้มีต่อไปว่า หลังจากที่ได้สังหารประชาชนส่วนมากผู้ซึ่งหนีความโกลาหลไปแล้ว พวกพม่าก็แบ่งคนออกเป็นพวก ๆ ตามจำนวนของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ออกเป็นหลายพวกแล้วนำพวกเหล่านี้ไป หลังจากที่ได้ทำการวางเพลิง lodge of the company ที่ทำการของบริษัทแล้ว

 ส่วนกษัตริย์หนุ่มด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เช่นเดียวกันกับ Berquelang ก็รวมอยู่ในหมู่ประชาชนที่ถูกนำไปด้วย ในระหว่างทาง กษัตริย์หนุ่มได้ประชวรสวรรคต และ Berquelang ก็ถึงแก่กรรมด้วยการวางยาพิษตนเอง ผู้ให้การได้กล่าวด้วยว่า กษัตริย์องค์ที่สูงด้วยวัยถูกลอบปลงพระชนม์ในคืนเดียวกันโดยชาวสยามด้วยกัน

 ผู้ที่บันทึกพร้อมกับเพื่อนในคณะ ซึ่งมีจำนวนประมาณหนึ่งพันคนประกอบด้วยชาวโปรตุเกส อาร์เมเนียน มอญ สยาม และมาเลย์ ทั้งชาย หญิงและเด็ก ได้ถูกนำตัวมุ่งหน้าไปยังพะโคภายใต้การควบคุมของชาวพม่ากลุ่มเล็ก ๆ เพียงสิบห้าคนเท่านั้น ในระหว่างครึ่งทาง พวกเขาประสบโอกาสจับพวกที่ควบคุมไว้ได้ และพากันหลบหนีมา หลังจากที่ได้บุกป่าฝ่าดงมาแล้ว พวกเขาก็กลับมาถึงแม่น้ำสยามอีกครั้งหนึ่ง

 ในจดหมายเหตุคณะบาทหลวงฝรั่งเศสของมองเซนเยอร์บรีโกด์ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศความว่า :

 "...เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือน ทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ 15 วัน และได้ฆ่าฟันผู้คนไม่เลือกว่คนมีเงินหรือไม่มีเงินก็ฆ่าเสียสิ้น แต่พวกพม่าพยายามฆ่าพระสงฆ์มากกว่าและได้ฆ่าเสียนับจำนวนไม่ถ้วน ข้าพเจ้าเองได้เห็นพม่าฆ่าพระสงฆ์ในตอนเช้าเวลาเดียวกันเท่านั้นกว่า 20 องค์...M.Turpin ในประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม กล่าวถึงสภาพภายหลังกรุงแตกและการกระทำอย่างบ้านคลั่งของพม่าไว้ว่า

 "...กรุงก็ถูกตีแตก สมบัติพัสดุในพระราชวังและตามวัดวาอารามต่าง ๆ กลายเป็นสิ่งปรักหักพังและเถ้าถ่านไปสิ้น พวกป่าเถื่อนได้ชัยชนะนี้ยิ่งแสดงความโกรธแค้นหนักขึ้นเพราะไม่ได้ทรัพย์ สมบัติ ดังความโ่ลภเพื่อให้หายแค้น ได้แสดงความทารุณโหดร้ายแก่ชาวเมืองทั้งหลาย ถึงกับจับคนมาลนไฟที่ส้นเท้า... ...เพื่อให้บอกว่าได้ซ่อนทรัพย์สมบัติไว้ที่ไหน ทั้งยังนำลูกสาวมาข่มขืนชำเราให้ร้องลั่นอยู่หน้าบิดาด้วย พวกพระก็ถูกหาว่าซ่อนสมบัติไว้มาก

 จึงถูกยิงด้วยลูกศรจนปรุและถูกพุ่งด้วยหลาวหรือปลายหอกจนตัวปรุ และหลายต่อหลายรูปก็ถูกตีด้วยท่อนไม้ จนตายคาที่ วัดวาอารามตลอดจนบริเวณที่กว้าง ล้วนเต็มไปด้วยซากศพ แม่น้ำลำคลองก็มีซากศพพลายเต็มไปหมดเช่นเดียว ส่งกลิ่นเหม์นจนหายใจไม่ออก เป็นเหตุให้ฝูงแมลงวันต่างพากันมาตอมอยู่อย่างมากมาย ก่อให้เกิดความรำคาญแก่กองทัพพม่าที่เข้าไปตั้งอยู่เป็นอันมาก...

 

 โปรดติดตามตอนต่อไป....